วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องค์กรมรดกโลก

มรดกโลก 
 (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
มรดกโลก (ภาษาอังกฤษ: World Heritage Site ภาษาฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial)
คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
สถิติ

ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 830 แห่ง ใน 138 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 644 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 162 แห่ง และอีก 24 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
หมายเหตุ: มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป

ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด
     ลำดับประเทศ / รวม 

  1. อิตาลี / 41
  2. สเปน / 40
  3. จีน / 35
  4. เยอรมนี / 32
  5. ฝรั่งเศส / 31
  6. สหราชอาณาจักร / 27
  7. อินเดีย / 27
  8. เม็กซิโก / 27
  9. รัสเซีย / 23
  10. สหรัฐอเมริกา / 20
  11. ประเภทของมรดกโลก
    มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
    มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
    มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น
  12. ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
    ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและ วัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการ เสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
    เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

    เว็บไซต์ทางการยูเนสโก ระบุผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปี 2554 ซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ และแบบผสม จำนวน 25 แห่ง โดยแบ่งเป็น แหล่งทางวัฒนธรรม 21 แห่ง แหล่งทางธรรมชาติ 3 แห่ง และแบบผสม 1 แห่ง ทำให้ขณะนี้มีแหล่งมรดกโลกที่มีการขึ้นทะเบียนแล้วทั้งหมด 936 แห่ง เป็นวัฒนธรรม 725 แห่ง ธรรมชาติ 183 แห่ง แบบผสม 28 แห่งสำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่
    1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
    2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
    3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
    4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
    5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิ
    6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
    7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
    8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
    9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
    10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
    11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
    12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
    13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
    14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
    15. มอมบาซา เคนยา
    16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
    17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
    18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
    19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารา
    20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน
    21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย
    ส่วนแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
    1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
    2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
    3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน
    อย่างไรก็ดตาม คณะกรรมการฯ ได้พิจารณามรดกโลก 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในภาวะอันตราย ได้แก่ มรดกป่าฝนในเขตร้อนชื้นของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย และพื้นที่ลุ่มน้ำของริโอ ฮอนดูรัส
  13. มรดกไทยที่เป็นมรดกโลก

    1.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
    เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
    2.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    3.อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    4.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534 สาเหตุที่ได้รับ
    เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทาง ธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
    เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
    เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ ความสนใจด้วย
    5.ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ - ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548 สาเหตุที่ได้รับ
    เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  14. สาเหตุที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลก

    วันนี้ (27มิ.ย.54) เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. เวลาประมาณ 23.50 น. ตามเวลาประเทศไทย นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ผ่าน ทวิตเตอร์ @Suwit_Khunkitti ระบุว่า น่าเสียดายนะครับที่หน่วยงานนานาชาติที่มีภารกิจส่งเสริมการศึกษาและ วัฒนธรรม จะลืมหน้าที่ของตนเองจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันในภาคีสมาชิก การตัดสินใจที่คณะกำลังจะดำเนินการในไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ เป็นไปเพื่อไม่ยอมให้ใครใช้ข้ออ้างในการรุกเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นอธิปไตย ของเรา

    ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฎระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆ ที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้ กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับทั้งนี้นายสุ วิทย์ได่นำหนังสือลาออกจากสมาชิกมรดกโลก แสดงต่อสื่อมวลชน http://t.co/nmsJWHKด้าน ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวทีเอ็นเอ็น ได้รายงาน ถึงการถอนตัวของประเทศไทย ว่า นายสุวิทย์ ได้ประกาศว่าประเทศไทยขอลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก โดยให้เหตุผลว่าการที่คณะกรรมการมรดกโลก ได้นำมติวาระการประชุมที่กัมพูชาเสนอมานำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา ซึ่งไทยยืนยันมาตลอดว่าเป็นการไม่ถูกต้อง หรือ สัญญาอาจจะทำให้ไทยสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ตรงนี้ไทยไม่เคยยอมรับ ขณะที่ประเทศไทยพยายามจะคัดค้านมาโดยตลอด แต่ในเมื่อจะเข้าสู่กระบวนการโหวต ไทยจึงต้องขอใช้สิทธิ์ ในการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งถือว่าเป็นชาติแรกของโลก ที่ประกาศออกจากสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกอ่านรายงานการถอนตัวในที่ประชุม

    วันนี้ การประชุมทั้งวันเป็นไปอย่างเคร่งเครียด จนเมื่อถึงจุดที่นายสุวิทย์ ประกาศลาออกนั้น ทุกชาติค่อนข้างตกใจเพราะว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก และ ตอนนี้เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า ไทยเราประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก และ มีผลโดยทันที ซึ่งขณะยังไม่ทราบท่าทีของกัมพูชาจะเป็นอย่างไร หลังจากกรรมการยืนยันนำเรื่องของกัมพูชาเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดก โลก
    ส่วนประเทศสมาชิกมีบรรยากาศค่อนข้างตกใจ กำลังกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคณะกรรมการแต่ละคน แต่ผลของการลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกนั้น ทำให้ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการก็สิ้นสุดลงทันทียื่นหนังสือถอนตัวให้ยูเนส โกอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ นายสุวิทย์ ได้นำจดหมาย และแถลงให้ผู้สื่อข่าวฟัง ถึงมุมมองในการตัดสินใจ และรวมถึงบรรยากาศในห้องประชุม ยืนยันว่า เป็นการกระทำที่ได้ไตร่ตรอง และ ผ่านการศึกษาหารืออย่างรอบคอบ รวมถึงได้รับการอนุมัติจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 กค 2554


รายงานผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 กค 2554

ลำดับที่
ชื่อพรรค
สัญลักษณ์พรรค
บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1
บัญชีรายชื่อ (คน)
แบ่งเขต (คน)
รวม (คน)
1
66
247
313
2
45
107
152
3
4
9
13
4
2
8
10
5
1
4
5
6
3
0
3
7
2
0
2
8
1
0
1
8
สนธิ บุญยรัตกลิน
1
0
1

กกต.ประกาศผลคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ วันที่ กรกฎาคม 2554 อย่างเป็นทางการ ดังนี้
1.  ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน 

    -  
มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งรวม 75 %

    -  
บัตรเสีย 
5.79 %

    -  
ไม่ประสงค์ลงคะแนน 2.03 ล้านใบ คิดเป็น 
4.03 %

2.  
ส.ส. บัญชีรายชื่อ 


    -  
การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 35,203,107 คน คิดเป็น 75.03%

    -  
บัตรเสีย 1,726,051 ใบ คิดเป็น 
4.9%
 
    -  
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน มีจำนวน 958,052 ใบ คิดเป็น 
2.72%

3.  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 


    -  
มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 35,119,885 คน คิดเป็น 74.85%

    -  
มีบัตรเสีย 2,039,694 ใบ คิดเป็น 
5.79%

    -  
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,088 คิดเป็น 
4.03%
     

4.  
ข้อสังเกต


    -  
การเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ปี 2550 มีบัตรเสีย อยู่ที่ 5.56 %

    -  
การเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2550 มีบัตรเสีย อยู่ที่ 
2.56 %

    -  
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ปี 2550 อยู่ที่ 
4.58 %

    -  
บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ปี 2550 อยู่ที่ 
2.85 %
     
           -  
จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งมากที่สุด จังหวัด 


        -  
ลำพูน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 88.61 %

        -  
เชียงใหม่ 
83.13 %

        -  
ตรัง 
82.65 %

5.  
พรรคการเมืองที่มีผู้สมัครได้รับการเลือกตั้ง 


    -  
พรรคเพื่อไทย 265 คน 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 61 คน 
        -  ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 204 คน 

    -  
พรรคประชาธิปัตย์ 159 คน 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 44 คน 

        -  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 115 คน 

    -  
พรรคภูมิใจไทย 34 คน 

        -  
ส.ส.บัญชีรายชื่อ คน 

        -  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 29 คน 

    -  
พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน 

        -  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 15 คน 

    -  
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน คน 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน 

        -  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คน 

    -  
พรรคพลังชล คน 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน 

        -  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คน 

    -  
พรรครักประเทศไทย คน

        - 
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน 

    -  
พรรคมาตุภูมิ คน 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน 

        -  
ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง คน 

    -  
พรรครักษ์สันติ 

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน

    -  
พรรคมหาชน

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน

    -  
พรรคประชาธิปไตยใหม่

        -  
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คน

6. คะแนนผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

    -  
พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน

    -  
พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน

    -  
พรรคภูมิใจไทย 1,281,522 คะแนน


    -  
พรรครักประเทศไทย 998,527 คะแนน


    -  
พรรคชาติไทยพัฒนา 906,644 คะแนน


    -  
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 คะแนน


    -  
พรรครักษ์สันติ 284,112 คะแนน


    -  
พรรคมาตุภูมิ 251,581 คะแนน


    -  
พรรคพลังชล 178,106 คะแนน


    -  
พรรคมหาชน 133,767 คะแนน


    -  
พรรคประชาธิปไตยใหม่ 125,781 คะแนน 



พรรคการเมืองที่เข้าร่วมคณะรัฐบาล

พรรคร่วมรัฐบาล  6  พรรครวมกันจัดตั้งรัฐบาลจะมีจำนวน ส.ส.ทั้งสิ้น  300 เสียง แบ่งเป็น


   J พรรคเพื่อไทย  262 เสียง
   
J พรรคชาติไทยพัฒนา  19
 เสียง
   
J
 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน  เสียง
   
J พรรคพลังชล  7 เสียง   
   J พรรคมหาชน  1  เสียง
   J พรรคประชาธิปไตยใหม่  เสียง

พรรคฝ่ายค้าน  พรรค มีจำนวน ส.ส จำนวนทั้งสิ้น  200 เสียง
แบ่งเป็น

  J พรรครักประเทศไทย
  J พรรครักสันติ
  J พรรคมาตุภูมิ
  J พรรคประชาธิปัตย์
  J พรรคภูมิใจไทย